*

วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2555

เพลงรัก "ครูสมาน"-ครูสมาน กาญจนผลิน

     สมาน กาญจนะผลิน นักดนตรีและนักแต่งเพลง ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประจำปี พ.ศ. 2531 เกิด 10 มีนาคม พ.ศ. 2464
     สมาน กาญจนะผลิน เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวน 7 คนของหมื่นคนธรรพ์ประสิทธิสาร (แตะ กาญจนะผลิน) กับนางแหวว กาญจนะผลิน มีพื้นฐานด้านดนตรีไทยเดิมมาตั้งแต่เด็ก เนื่องจากบิดาเป็นหัวหน้าวงดนตรีไทย โดยมีพี่ชาย ชื่อ พริ้ง กาญจนะผลิน เป็นผู้ให้การฝึกฝนเพิ่มเติม
     เริ่มเรียนหนังสือ ที่ โรงเรียนมณีโสภา โรงเรียนวัดบางโพ โรงเรียนสุวรรณประสิทธิ์ และเข้าเรียนต่อที่ โรงเรียนนาฎดุริยางค์ กรมศิลปากร ในสาขาวิชาการดนตรี โดยมีครูสอนวิชาการดนตรีต่างๆให้หลายคน เช่น ครูมนตรี ตราโมท เรืออากาศเอกทองต่อ กลับชื่น ขุนสมานเสียงประจักษ์ ครูเอื้อ อัมพลิน ครูประเสริฐ วิเศษศิริ และ พระเจนดุริยางค์ ทั้งด้าน ดนตรีไทยเดิม ดนตรีสากล และการเรียบเรียงเสียงประสาน
          หลังจากเรียนจบเพื่อ พ.ศ. 2485 ได้รับราชการ ในวงดนตรีดุริยางค์สากล กรมศิลปากร ในตำแหน่งนักดนตรีไทย และต่อมาได้ย้ายมาเป็นนักทรัมเป็ต ของวงดุริยางค์สากล และออกหางานพิเศษเพื่อเพิ่มรายได้ โดยกลางวันรับราชการที่กรมศิลปากร ส่วนกลางคืนเล่นดนตรีตามบาร์และไนท์คลับ หลายแห่ง เช่นภัตตาคารห้อยเทียนเหลา หรือหยาดฟ้าภัตตาคาร ที่โด่งดังและเป็นที่นิยมกันมากในหมู่ชาวกรุงเทพฯ 


     ได้ออกมาตั้งวงดนตรีของตัวเอง ชื่อ วงดนตรีกาญจนศิลป์ ร่วมกับ ประสิทธิ์ พยอมยงค์และจำนรรจ์ กุณฑลจินดา  และพรรคพวก  ออกรับงานทั่วๆ ไป และเล่นประจำตามร้านอาหาร โรงแรม ห้องอัดเสียงและ สถานีวิทยุ โดยมี เพ็ญแข กัลยจารึก ชาญ เย็นแข วินัย จุลละบุษปะ นภา หวังในธรรม เป็นนักร้องประจำวง ในปี พ.ศ. 2489
      ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 ได้ย้ายไปร่วมวงดนตรีประสานมิตร วงดนตรีวรรณเกษม แล้วย้ายไปเป็นหัวหน้าวงดนตรีของธนาคารออมสิน และวงดนตรีของโรงงานยาสูบ จนกระทั่งเกษียณอายุราชการ


      ผลงานของครูสมาน กาญจนะผลิน มีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่า "สังคีตประยุกต์" เป็นการนำดนตรีไทยมาบรรเลงผสมผสานกับดนตรีสากล เพลงที่มีชื่อเสียงเช่น เพลง "วิหคเหิรลม" "ง้อรัก" "จูบเย้ยจันทร์" "นกเขาคูรัก" "สัญญารัก" "ท่าฉลอม" "แสนแสบ" ส่วนใหญ่เป็นผลงานแต่งร่วมกับศิลปินท่านอื่น เช่น สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ เกษม ชื่นประดิษฐ์ ชาลี อินทรวิจิตร


       ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของครูสมาน คือเพลง "รักคุณเข้าแล้ว" แต่งร่วมกับสุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ ขับร้องโดย สุเทพ วงศ์กำแหง เมื่อ พ.ศ. 2498 รวมทั้งผลงานเด่นชื่อ "รักแท้" แต่งร่วมกับ แก้วฟ้า (แก้ว อัจฉริยะกุล


     สมาน กาญจนะผลิน ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ดนตรีไทยสากล ประจำปี พ.ศ. 2531 ก่อนจะเสียชีวิตเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2538  อายุ 74 ปี


        ครูสมาน กาญจนะผลิน เริ่มแต่งเพลงทำนองเองเป็นเพลงแรก คือ เพลงกลิ่นเนื้อนาง ที่ ครูสุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ เป็นผู้แต่งคำร้อง และ ชาญ เย็นแข เป็นผู้ขับร้อง โดยอาศัยทำนองจาก เพลงไทยเดิม ชื่อ เพลงดาวทอง


   ค่ำคืนฝืนใจเหลือข่ม
       พี่ต้องตรมระทมอุรา
       นอนเพ้อหาแก้วตาวุ่นวาย
       สุดข่มใจหลับใหลไม่ลง

       พะวงไม่คลาย
       โอ้กลิ่นกายเนื้อนวล นิ่มนางยังฝังใจ
       กลิ่นนวลเนื้อนางยังกรุ่น
       หมอนที่หนุน ครั้งนอนแนบพี่

       ตรึงฤดีพี่หอมไม่คลาย
       โอ้บัดนี้น้องนางจากพี่ไปแห่งใด
       จากพี่ไป
       ทิ้งเพียงกลิ่นกายให้หมองอุรา

       พี่ครวญละเมอเพ้อพร่ำ
       ใครเล่าช้ำระกำเหมือนพี่
       ตรมฤดีไม่มีสร่างซา
       เฝ้ากอดหมอนนวลน้องแนบนอนอ่อนระอา
       สุดข่มตา
       ร้าวรอนอุราผวาครวญ

       
 ผลงานที่โดดเด่นมาก ของ ครูสมาน กาญจนะผลิน น่าจะเป็น การที่นำเอาดนตรีไทย มาบรรเลงผสมกันกับ ดนตรีสากล ที่เรียกชื่อว่า “สังคีตประยุกต์” ซึ่งมีอยู่หลายสิบเพลง เช่น เพลงวิหคเหินลม เพลงง้อรัก เพลงจูบเย้ยจันทร์ เพลงความรักเจ้าขา เพลงนกเขาคูรัก เพลงรัก ( ดู สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ ) เพลงสัญญารัก เพลงหวานรัก ฯลฯ ผลงานเหล่านี้ เป็นผลงานที่แต่งร่วมกันกับ ครูสุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ และ ครูเกษม ชื่นประดิษฐ์ เป็นส่วนใหญ่


 เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2500 ครูสมาน กาญจนะผลิน ได้ร่วมเดินทางไปกับคณะ ผู้แทนศิลปินไทย นำโดย สุวัฒน์ วรดิลก ไปแสดงที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน จนกลายเป็นบันทึกประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งของ วงการดนตรีและการแสดงของไทย
       ในการเดินทางไปแสดงดนตรีคราวนั้น สุเทพ วงศ์กำแหง เล่าถึงความประทับใจไม่รู้ลืมไว้ ใน เทพเจ้าแห่งความปรานี ไว้ว่า
       
        “...สิ่งที่ประทับใจผม และไม่เคยลืมเลย จนกระทั่งบัดนี้ ก็คือ เพลงนางอาย และ คำคน รวมทั้ง ชีวิตเมื่อคิดไป ที่ท่านนำมาให้ผมร้องไว้ ตั้งแต่ก่อนเดินทางไปเชื่อมสัมพันธไมตรี กับ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน เมื่อ ปี 2500 นั้น ท่านได้ใช้ดนตรีไทยผสมกับดนตรีสากลบรรเลงอย่างไพเราะเพราะพริ้ง
       
        เมื่อผมเอาไปร้อง ที่ประเทศจีน ตามคำแนะนำของ ท่านหัวหน้าทีม (คุณสุวัฒน์ วรดิลก) ปรากฏว่า ได้รับความนิยมจากประชาชนชาวจีนอย่างมากมาย ยิ่ง ครูบุญยง เกตุคง (ศิลปินแห่งชาติ) บรรเลงตอนท่อนรับ ด้วยระนาดด้วยแล้ว ท่านประธานเหมา เจ๋อ ตุง และ ท่านนายกรัฐมนตรี โจว เอิน หลาย ถึงกับเอ่ยปากว่า “เสียงระนาดที่ครูเล่น หยั่งกับไข่มุก หล่นบนจานหยกนั่นเทียว”




  เพลินเผลอมอง น้องนางอายเอียง
       นวลพักตร์พริ้มเมินเพียง มองแล้วเลี่ยงสะเทิ้น
       เนตรสดใส ชม้อยชม้ายขวยเขิน
       เย้ายวนฤทัยเหลือเกิน พี่เพลินเผลอมองไม่วาย

       วงพักตร์ดังพระจันทร์ วันเพ็ญ
       เหมือนเพียรจะหลบจะเร้น งามเด่นไม่จาง
       ยิ่งอายยิ่งยิ้ม พริ้มพรายงามสล้าง
       ระเรื่อปราง หลบพลางค้อนให้ในที

       มิมีอะไร จะงาม
       เหมือนยามเมื่อน้อง มองสะเทิ้น
       มิมีสิ่งใด จะงามเกิน
       เหมือนยามแม่เมิน เมียงชม้าย

       แอบเพียงอาย สายตาพี่ชม
       สวยเกินคำพร่ำ เหมือนน้ำค้างพรม
       พิศยิ่งยั่ว ชวนให้หลงชม
       พิศยิ่งยั่ว ชวนให้หลงชม

       เพลินอารมณ์
       ยามชมน้องนาง เอียงอาย

เพลงนี้ ครูสมาน กาญจนะผลิน นำเอาทำนอง มาจากเพลงไทยเดิม ที่ชื่อว่า เขมรโพธิสัตย์ ชั้นเดียว มาดัดแปลง จึงมีความไพเราะมาก

วิหกเหิรลม เพ็ญศรี พุ่มชูศรี



แสน สุข สม นั่ง ชม วิ หค
อยาก เป็นนก เหลือเกิน
นก หนอ นก เจ้า หก เจ้าเหิร
ทั้งวัน นกเจ้าคงเพลิน
เหิร ลอย ละลิ่วล่องลม
แม้ เป็น นก ได้ ดั่ง ใจ จินตนา
ฉัน คง เริง ร่า ลอย ลม
ขอเพียง เชยชม ดูท้อง นภา
ให้สุดขอบฟ้า สุขา วดี
ฉิม พลี วิมาน เมือง ฟ้า
ค่ำ คืน จะทน ฝืน บิน
เหิร ไป ทั่วถิ่น ที่มันมี ดารา
เพราะว่าอยาก จะรู้ เป็นนัก เป็นหนา
ดารา พริบตา อยู่ใย
ยั่วเย้า กระเซ้า หรือไร
หรือดาว เกี้ยวใคร เหตุใดดาวจึงซน
แสน สุข สม นั่ง ชม วิ หค
อยาก เป็นนก เหลือเกิน
นก หนอ นก เจ้า หก เจ้าเหิร
ทั้งวัน นกเจ้าคงเพลิน
เหิร ลอย ละลิ่วล่องลม
แม้ เป็น นก ได้ ดั่ง ใจ จินตนา
ฉัน คง เริง ร่า ลอย ลม
ขอเพียง เชยชม ดูท้อง นภา
ให้สุดขอบฟ้า สุขา วดี
ฉิม พลี วิมาน เมือง ฟ้า
ค่ำ คืน จะทน ฝืน บิน
เหิร ไป ทั่วถิ่น ที่มันมี ดารา
เพราะว่าอยาก จะรู้ เป็นนัก เป็นหนา
ดารา พริบตา อยู่ใย
ยั่วเย้า กระเซ้า หรือไร
หรือดาว เกี้ยวใคร เหตุใดดาวจึงซน..