*

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประวัติครูเพลง



ที่มาเพลงไทยสากล
เพลงไทยสากล ในสมัยของพรานบูรณ์ (2470-2472) มีลักษณะเป็น “เพลงไทยเดิมสากล” ได้รับแรงบันดาลใจจากเพลงไทยเดิม พรานบูรณ์ได้แต่งเพลงลักษณะนี้้อีกเเป็นจำนวนมาก และในปี พ.ศ. 2474 พรานบูรณ์และเพชรรัตน์แห่งละครคณะศรีโอภาสได้นำดนตรีสากลประเภทเพลงแจ๊ส (Jazz Band) หรือ รหัสดนตรี เป็นส่วนประกอบละครเรื่อง “โรสิตา” และนำทำนองเพลง “วอลซ์ปลื้มจิต” มาใส่เนื้อร้อง ได้รับความนิยมอย่างมาก มีการเผยแพร่บทเพลงออกอากาศทางสถานีวิทยุ 7 พี.เจ. ที่ศาลาแดง และมีการบันทึกแผ่นเสียง โดยห้างนายต.เง็กชวน และในปีเดียวกันพรานบูรณ์ร่วมงานกับคณะละครจันทโรภาสก็โด่งดังที่สุดขั้นด้วยละครร้องเรื่อง”จันทร์เจ้าขา” ซึ่งมีสถิติการนำออกแสดงถึง 49 ครั้ง ติดต่อกันแทบทุกโรงมหรสพที่มีในพระนครและธนบุรี โดยพรานบูรณ์แต่งเพลงไทยสากล มีลีลาทำนองอ่อนหวานอาทิ เพลงจันทร์เจ้าขา จันทร์สวาท จันทร์ลอย จันทร์จาฟ้าจันทร์แฝงหมอก ขวัญของเรียม
ในช่วงนั้นบทเพลงประกอบละครร้องเป็นที่นิยมแพร่หลายโดยทั่วไปตราบจนกระทั่งความนิยมละครร้องลดน้อยลงไป ในขณะที่ภาพยนตร์พูดเสียงในฟิล์ม เข้ามาได้รับความนิยมแทน ซึ่งทีบทขับร้องประกอบด้วย



ในสมัยรัชกาลที่ 7 ความนิยมในภาพยนตร์ตะวันตกเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ มีการสร้างศาลาเฉลิมกรุงในปี พ.ศ. 2474 สกุลวสุวัต ซึ่งมี มานิต วสุวัต หลวงกลการเจนจิต(เภา วสุวัต) กระเศียร วสุวัต และการะแส วสุวัต แห่งศรีกรุงภาพยนตร์ทำภาพยนตร์เสียงในฟิล์มหรือภาพยนตร์พูดได้เป็นครั้งแรกชื่อเรื่องว่า “หลงทาง” ดนตรีประกอบในภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ดนตรีสากลบรรเลงเพลงไทยแท มีเนื้อร้อง ทำนองที่มีเอื้อนเพียงเล็กน้อย  ซึ่งได้แก่เพลงพัดชา บัวบังใบ ฯลฯ เป็นต้น และในปี พ.ศ. 2476 ภาพยนตร์เรื่อง “ปู่โสมเฝ้าทรัพย์โดยมีขุนวิจิตรมาตรา กำกับการแสดงและเรือโทมานิต เสณะวีนิน ประพันธ์เพลงประกอบภาพยนตร์ชื่อว่า “เพลงกล้วยไม้ซึ่งนับเป็นเพลงไทยสากลเพลงแรก ในการแต่งทำนองตามหลักโน้ตสากลในประวัติศาสตร์เพลงของเมืองไทย ขับร้องโดย องุ่น เครือพันธ และมณี บุญจนานนท์ขับร้องหน้าเวทีสลับการฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ ......อ่านต่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น